จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม
 
           คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"
           ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อhttpใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้ว
http://www.culture.go.th/knowledge/story/bamboo/bamboo.html



                                                                      ไม้ไผ่
 เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก

http://www.learners.in.th/blogs/posts/422462
                    
                                        การปลูกไผ่เลี้ยง 
พันธุ์ไผ่เลี้ยง

1.พันธ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ปกติในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – สิงหาคม) แต่ถ้าจะผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มกับทุน 2.พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่สามารถให้หน่อไผ่ ตกในช่วงฤดูฝน และสามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยแล้วจะให้หน่อทันที ถ้าเกษตรกรปลูกมีการบำรุงรักษาดี ผลผลิตก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่จะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อ ควรปลูกพันธุ์เบา



การคัดเลือกพื้นที่ปลูกสวนไผ่
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่เลี้ยง ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว ดินโคกลูกรัง การเจริญเติบโต และการให้หน่อจะไม่ดี


การเตรียมดินปลูก
-ไถครั้งแตกด้วยรถไถผาน 3 ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืช
-ไถครั้งที่ 2 ด้วยรถไถผาน 7 เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย เหมาะแก่การปลูกพืช



ระยะปลูก
สามารถปลูกได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้เครื่องมือในการจัดการแปลงหลังปลูก
1.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 2 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น
2.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น
3.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 6 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 66 ต้น
ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรทั่วไป ควรปลูกระยะ 4 x 4 ม.

การปลูก
1.ปลูกด้วยตอชำถุง (มีค. – กค.) ขุดหลุ่มขนาด 50 50 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้าเข้ากับดินลงในหลุมปลูก ฉีกถุงดำออกอย่าให้ดินแตก นำลงหลุมกลบดินให้แน่น แล้วรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ถ้าฝนไม่ตก)
2.ปลูกด้วยเหง้า หรือตอไผ่ที่ไม่ได้ชำถุง โดยขุดเหง้าหรือตอไผ่ แล้วนำไปปลูกทันทีด้วยการขุดหลุมเฉพาะ ไม่ต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปลูกแล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกโดยวิธีนี้ คือ เดือน มค. – เมย. เหมาะสำหรับผู้ที่มีแหล่งน้ำและสะดวกในการให้น้ำ


การดูแลรักษา
-ถ้าไม่มีฝนตกควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
-กำจัดวัชพืชทำความสะอาดแปลงอย่าปล่อยให้หญ้าคลุม
-เมื่อไผ่ปลูกได้ 7 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออกให้เหลือไว้แต่ต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 ซม. แล้วพรวนดินรอบกอ ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 – 10 กก. คลุมโคนด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง หรือฟางข้าว เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดิน ถ้ามีน้ำในไร่นาควรให้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
-เมื่อไผ่มีอายุได้ 8 เดือน ขึ้นไป ก็จะสามารถให้หน่อและเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป


เทคนิคการตัดแต่งกอและกิ่งไผ่
-หลักสำคัญในการตัดแต่งกิ่งไผ่ อยู่ที่ปีที่ 2 ซึ่งจะต้องตัดต้นที่แก่และยู่ชิดกันออก โดยใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่งเฉพาะ จะสะดวกให้เหลือจำนวนต้นไว้ในแต่ละกอ ไม่เกิน 12 ตัน ต่อไป (การตัดแต่งควรตัดทุกปีอย่างต่อเนื่อง ปีละ 1 ครั้ง)
-ฤดูกาลที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือเดือน ธค. – มค.
-หลังตัดแต่งเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15 – 20 กก. แล้วให้น้ำทันที เพื่อเร่งให้ได้ผลผลิตหน่อไผ่ช่วงต้นฤดู ซึ่งขายได้ราคาสูง
-ถ้าจะเร่งการออกหน่อ และเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น ให้เสริมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 กอละประมาณ 2 กำมือ โดยใส่รอบๆ กอ แล้วจึงกลบด้วยปุ๋ยคอกแล้วให้น้ำทันที ถ้าไม่มีน้ำให้ก็ต้องรอเก็บผลผลิตในฤดูฝนตามปกติ แต่ผลผลิตก็จะได้มากกว่า สวนที่ไม่มีการตัดแต่งใส่ปุ๋ยอย่างแน่นอน



การเก็บผลผลิตหน่อไผ่
-ขนาดความยาวของหน่อไผ่ที่เหมาะสม 40 – 50 ซม. หรือ ถ้าเห็นหน่อไผ่พ้นดินขึ้นมาให้รออีก 4-6 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้
-ช่วงเดือนสิงหาคม ควรคัดเลือกหน่อที่มีลักษณะสมบูรณ์และแตกหน่อออกอยู่ห้างกอไว้เป็นลำต้นต่อไป
-ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,700 กก.
-รายได้เฉลี่ย 17,000 บาท/ไร่


การขยายพันธุ์ไผ่
การขยายพันธุ์ไผ่เลี้ยง ทำได้ 2 ลักษณะ

1.ขยายพันธุ์โดยการขุดเอาเหง้าของลำต้นไผ่ที่มีอายุ 1 ปี แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีครึ่ง เมื่อขุดออกมาแล้วควรตัดให้เหลือตอไว้ประมาณ 40 ซม. และตัดแต่งรากออกพอประมาณ เพื่อสะดวกในการปักชำ ถุงที่เหมาะสมควรเป็นถุงดำขนาด 5 x 11 นิ้ว ขึ้นไป ส่วนผสมของดินบรรจุถุง คือ หน้าดิน 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้า แล้วใส่ลงในถุงนำเหง้าไผ่ที่เรียมไว้ลงถุงกลบดินแกลบให้แน่น ตั้งถุงเรียงไว้กลางแจ้ง รดน้ำให้พอชุ่มอยู่ตลอดประมาณ 15 วัน ก็จะเริ่มแตกแขนง
ครบ 2 เดือน นำไปปลูกได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ตามแบบที่ 1 คือ เดือน กพ. – พค.

2.ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า จากส่วนที่เป็นเหง้าของหน่อที่ถูกตัดไปขาย แล้วเหลือตอติดดินไว้แตกแขนงขึ้นมารอให้แขนงที่แตกมาใหม่ มีใบแก่ (แตกใบขิง) จึงขุดเหง้าพร้อมแขนงนี้มาชำถุง แต่ต้องตัดกิ่งแขนงส่วนบนออกให้เหลือติดเหง้าขึ้นไปยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ใช้วัสดุชำเหมือนกับการขยายพันธุ์แบบที่ 1 ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชำแบบที่ 2 คือ ตั้งแต่เดือน พย. – พค.



โรคและแมลงศัตรูไผ่
-โรค ยังไม่มีปรากฏที่ชัดเจน
-แมลงศัตรู
1.ด้วงเจาะหน่อไผ่ โดยทั่วไปยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ
2.หนู กัดกินและทำลายหน่อไม้ เกษตรกรผู้ปลูกสามารถดูแลและควบคุมได้ และยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ

ไผ่ออกดอกแล้วแห้งตาย (ไผ่เป็นขี)
-สาเหตุ เกิดจากเหล่ากอต้นพันธุ์มีอายุมาก ซึ่งการนำมาขยายพันธุ์ไม่ทราบว่ากี่ชั่วอายุแล้ว
-การแก้ไข ถ้าหากต้นที่ปลูกไปแล้วออกดอกให้ขุดทิ้งแล้วปลูกทดแทน

http://www.baanmaha.com/community/thread7348.html


1 ความคิดเห็น: